01 กรกฎาคม, 2555


ระบบสืบพันธ์ของมนุษย์


เมื่อสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นอวัยวะต่างๆในร่างกายส่วนใหญ่จะเริ่มทำงานไปพร้อมๆกับการเจริญเติบโตของร่างกาย ยกเว้น อวัยวะใน ระบบสืบพันธุ์ โดยจะเริ่มทำงานเมื่อร่างกายเจริญเติบโตมาจนย่างเข้าสู่วัยรุ่น

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย

ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้

1. อัณฑะ (Testis) และถุงอัณฑะ (Scrotum)

อัณฑะ มีลักษณะรูปร่างคล้ายไข่ฟองเล็ก ยาว 3-4 Cm หนาประมาณ 2-3 Cm

หนักประมาณ 50 กรัม อัณฑะมี 2 ข้างและขนาดใกล้เคียงกันอยู่ภายในถุงอัณฑะ ซึ่งทำหน้าที่

ปรับอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของอสุจิ คือ ประมาณ 34

องศาเซลเซียส ภายในอัณฑะประกอบด้วยหลอดสร้างตัวอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆขดเรียงกัน

อยู่มากมาย เพื่อทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) นอกจากนั้นยังมีเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน

เพศชาย ซึ่งควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย เช่นเสียงห้าว มีหนวดเครา

2. หลอดเก็บตัวอสุจิ

เป็นที่พักของตัวอสุจิที่สร้างจากหลอดสร้างตัวอสุจิจะอยู่บริเวณด้านบนของอัณฑะต่อเชื่อม

กับหลอดนำตัวอสุจิ

3. หลอดนำตัวอสุจิ

อยู่ต่อจากหลอดเก็บอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ

4. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ(seminal vesicle)

อยู่ต่อจากหลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารให้แก่ตัวอสุจิ ส่วนมากเป็นน้ำตาลฟรักโตส

และสารประกอบอื่นๆที่ทำให้เกิด

สภาพที่เหมาะกับตัวอสุจิ

5. ต่อมลูกหมาก(prostate gland)

อยู่บริเวณตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารบางชนิดที่เป็นเบสอย่างอ่อน เข้าไปใน

ท่อปัสสาวะปนกับน้ำเลี้ยงอสุจิและสารที่ทำให้ตัวอสุจิแข็งแรงและว่องไว

6. ต่อมคาวเปอร์(cowper gland)

มีหน้าที่หลั่งสารของเหลวใสๆไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะเกิดการกระตุ้นทางเพศ

7. อวัยวะเพศชาย(pennis)

เป็นกล้ามเนื้อที่หดและพองตัวได้คล้ายฟองน้ำในวลาปกติจะอ่อนและงอตัวอยู่ แต่เมื่อ

ถูกกระตุ้นจะเเข็งตัวเพราะมีเลือดมาคั่งมากภายในจะมีท่อปัสสาวะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัว

อสุจิและน้ำปัสสาวะ


ขั้นตอนในการสร้างตัวอสุจิและการหลั่งน้ำอสุจิ มีดังนี้

เริ่มจากหลอดสร้างตัวอสุจิ ซึ่งอยู่ภายในอัณฑะสร้างตัวอสุจิออกมา จากนั้นตัวอสุจิจะ

ถูกนำไปพักไว้ที่หลอดเก็บอสุจิก่อนจะถูกลำเลียงผ่านไปตามหลอดนำตัวอสุจิ เพื่อนำ

ตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิรอการหลั่งออกสู่ภายนอก ต่อมลูกหมากจะ

หลั่งสารเข้าผสมกับน้ำเลี้ยงอสุจิเพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกับตัวอสุจิก่อนที่จะหลั่ง

น้ำอสุจิออกสู่ภายนอกทางท่อปัสสาวะโดยปกติเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิได้เมื่ออายุ

ประมาณ 12 - 13 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต ส่วนการหลั่งน้ำอสุจิในแต่ละครั้งจะมี

ของเหลวออกมาเฉลี่ยประมาณ 3 - 4 ลูกบาศก์เซนติเมตรและมีตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ

350 - 500 ล้านตัว สำหรับชายที่เป็นหมันจะมีตัวอสุจิน้อยกว่า 30 - 50 ล้านตัว

ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมีตัวอสุจิที่ผิดปกติมากกว่าร้อยละ 25 ตัวอสุจิที่หลั่งออก

มาจะเคลื่อนที่ได้ประมาณ 3 - 4 มิลลิเมตรต่อนาที และมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้

ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จะมีชีวิตอยู่ในมดลูกของเพศหญิงได้นานประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้

1. รังไข่

ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะกำหนดลักษณะต่างๆในเพศหญิง เช่น

ตะโพกผาย เสียงแหลม สำหรับรังไข่จะมี 2 อัน ซึ่งจะอยู่คนละข้างของมดลูกจะมี

ลักษณะคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร

2. ท่อนำไข่

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปีกมดลูก เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ทำ

หน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูกและเป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้า

ปฏิสนธิกับไข่ ท่อนำไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ

6 - 7 เซนติเมตร

3. มดลูก

มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่หัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 - 8

เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกรานระหว่าง

กระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็น

ที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์

4. ช่องคลอด

อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและเป็น

ทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด

การตกไข่

การตกไข่ หมายถึง การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ โดยปกติรังไข่แต่

ละข้างจะสลับกันผลิตไข่ในแต่ละเดือน ดังนั้น จึงมีการตกไข่เกิดขึ้นเดือนละ 1 ใบ ใน

ช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน เมื่อมีการตกไข่ มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมี

ผนังหนาขึ้นทั้งมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน

2 กรณีต่อไปนี้

1. ถ้ามีอสุจิเคลื่อนที่เข้ามาในท่อนำไข่ในขณะที่มีการตกไข่ อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับ

ไข่ที่บริเวณท่อนำไข่ด้านที่ใกล้กับรังไข่ ไข่ที่

ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวเข้าสู่มดลูก เพื่อฝังตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโตต่อไป

2. ถ้าไม่มีตัวอสุจิเข้ามาในท่อนำไข่ ไข่จะสลายตัวก่อนที่จะผ่านมาถึงมดลูก จาก

นั้นผนังด้านในของมดลูกและเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง เป็นจำนวนมากก็จะสลายตัว แล้ว

ไหลออกสู่ภายนอกร่างกายทางช่องคลอด เรียกว่า ประจำเดือน โดยปกติผู้หญิงจะเริ่ม

มีประจำเดือนเมื่อายุประมาณ 12 ปี ขึ้นไป รอบของการมีประจำเดือนแต่ละเดือนจะแตก

ต่างกันไปในแต่ละคน โดยทั่วไปประมาณ 28 วัน และจะมีทุกเดือนไปจนกระทั่งอายุ

ประมาณ 50 - 55 ปี จึงจะหยุดการมีประจำเดือน โดยจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของ

ร่างกาย


ระบบไหลเวียนโลหิต


ระบบไหลเวียนโลหิต เปรียบเสมือนระบบขนส่งในร่างกาย โดยการส่งสารอาหาร ก๊าซออกซิเจน น้ำ และสิ่งมีประโยชน์อื่น ๆ ไปให้เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย แล้วนำของเสียจากเซลล์ไปยังส่วนที่มีหน้าที่ขับออกจากร่างกาย

ระบบไหลเวียนเลือด Cardiovascular system

มีหน้าที่นำสารต่าง ๆ ไปส่งทั่วร่างกาย เช่น สารอาหาร ก๊าซต่าง ๆ เกลือแร่ ฮอร์โมน และรับของเสียส่งออกนอกร่างกายโดยลำเลียงไปตามเส้นเลือด ภายในเลือดประกอบ ไปด้วยส่วนที่เป็น ของเหลวเรียกว่า ”พลาสมา” ทำหน้าที่ลำเลียงเกลือแร่ ฮอร์โมน แอนติบอดี สารอาหารต่าง ๆ ไปยัง เซลล์ต่าง ๆ และรับของเสียงจากเซลล์ไหลกลับไป ตามท่อน้ำเหลืองเรียกว่าน้ำเหลือง ส่วนเลือดที่เป็น ของแข็งเรียกว่าเกล็ดเลือด ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล

เลือดดีจากปอด ซึ่งมีปริมาณ O2 สูงจะเข้าหัวใจห้องบนซ้าย เลือดเสียปริมาณ CO2 สูงจะเข้าหัวใจห้องบนขวา เมื่อหัวใจห้องบนบีบตัว เลือดจะไหลผ่านลิ้นลงสู่หัวใจห้องล่าง โดยเลือดดีอยู่หัวใจล่างซ้าย เลือดเสียอยู่ห้องล่างขวา เมื่อหัวใจบีบตัว "เลือดดีจะออกจากห้องล่างซ้ายออกไปสู่ขั้นหัวใจเข้าเส้นเลือดแดง แยกเข้าเส้นเลือดฝอยไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ในขณะที่เลือดเสียจากห้องล่างขวาออกไปสู่ปอดเพื่อคาย CO2 ให้กับปอดพร้อมกับรับ O2 "เลือดจึงกลายเป็นเลือดดีกลับเข้าสู่หัวใจ

อวัยวะที่สำคัญในระบบไหลเวียนโลหิต ได้แก่

1. โลหิตหรือเลือด เป็นเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งทำหน้าที่ ลำเลียงสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย น้ำ้เลือด ที่มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี เม็ดเลือดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

1.1 เม็ดเลือดแดง เ็ป็นเม็ดเลือดขนาดเล็กมากและเป็นเม็ดเลือดที่มีปริมาณมากที่สุดทำหน้าที่ขนส่งก๊าซอ็อกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

1.2 เม็ดเลือดขาว มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันโลก

1.3 เกล็ดเลือด ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว เพื่อปิดปากแผล เมื่อเกิดบาดแผลขึ้น

2. เส้นเลือดและหลอดเลือด แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. เส้นเลือดแดง เป็นเส้นเลือดรูปทรงกระบอก ทำหน้าที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังเส้น เลือดฝอย เพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

2. เส้นเลือดดำ เป็นเส้นเลือดรูปทรงกระบอก ทำหน้าที่นำเลือดกลับสู่หัวใจ

3. เส้นเลือดฝอย เป็นเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กมาก มีหน้าที่นำเลือดจากหลอดเลือดแดงไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำเลือดดำจากร่างกายไปยังหลอดเลือดดำ

3. หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย




22 มิถุนายน, 2555


ระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย



• ร่างกายของเราประกอบด้วยอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน อวัยวะภายนอกเป็นอวัยวะที่เราสามารถมองเห็นได้ ส่วนอวัยวะภายในเป็นอวัยวะที่อยู่ใต้ผิวหนังซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นอวัยวะภายในเหล่านี้มีมากมายและทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็นระบบ เช่น ระบบการย่อยอาหาร ก็จะประกอบด้วยปาก หลอดลม กระเพาะอาหาร ลำไส้ ทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยให้การย่อยอาหารเป็นไปอย่างปกติ ถ้าอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดความบกพร่องหรือเกิดความผิดปกติ ระบบการทำงานนั้นก็จะบกพร่องหรือผิดปกติด้วย



• ระบบการย่อยอาหาร

• ระบบย่อยอาหารมีหน้าที่ย่อยอาหารที่เรารับประทานเข้าไปให้ละเอียด และดูดซึมสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้นเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย

• 1. ปาก เป็นอวัยวะแรกของระบบย่อยอาหาร ภายในปากประกอบด้วยลิ้น ฟัน และต่อมน้ำลาย

• 2. หลอดอาหาร ไม่มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่ทำหน้าที่ในการลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหารเท่านั้น มีความยาว 25 ซม. เพราะหลอดอาหารมีผนังที่ยืดและหดตัวได้

• 3. กระเพาะอาหาร มีลักษณะเป็นถุงรูปร่างตัวเจ สามารถขยายตัวได้เมื่อมีอาหาร 10-40 เท่า กระเพาะอาหารทำหน้าที่ในการผลิตน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร โดยกระเพาะอาหารจะบีบตัวให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อย

• 4. ลำไส้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

• 1. ลำไส้ดูโอดีนัม เป็นลำไส้ที่อยู่ต่อกับกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่เปลี่ยนกรดจากกระเพาะ อาหารให้เป็นกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้ลำไส้ส่วนอื่นได้รับอันตรายจากกรด

• 2. ลำไส้เล็ก รูปร่างเป็นท่อ ยาวประมาณ 6.5 ซม. ในลำไส้เล็กมีน้ำย่อยหลายชนิดใช้ย่อยอาหารได้ทุกประเภท3. ลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่บางส่วนที่ยังหลงเหลือในกากอาหาร ทำให้กากอาหารแห้งเป็นก้อนอุจจาระ




• ระบบวงจรโลหิต

• ระบบวงจรหมุนเวียนโลหิตเป็นกระบวนการหมุนเวียนโลหิตไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อนำกาซออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย พร้อมนำกาซคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียที่ร่างกายใช้แล้วออกมานอกร่างกาย

• 1. หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบวงจรโลหิต รูปร่างคล้ายดอกบัวตูม แบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ หัวใจห้องบนซ้าย หัวใจห้องล่างซ้าย หัวใจห้องบนขวา หัวใจห้องล่างขวา ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อหัวใจคลายตัวก็จะสูบโลหิตเข้ามา และเมื่อหัวใจบีบตัวก็เป็นการฉีดโลหิตออกไป การสูบฉีดโลหิตนี้เป็นการทำงานของหัวใจ 4 ห้องนี้

• 2. ปอด ทำหน้าที่ฟอกโลหิตดำให้เป็นโลหิตแดง โดยรับโลหิตดำที่ส่งมาจากหัวใจห้องล่างขวามาถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากโลหิตดำ และส่งกาซออกซิเจนให้แทน ซึ่งทำให้โลหิตดำเปลี่ยนเป็นโลหิตแดง การแลกเปลี่ยนกาซภายในปอดนี้ เรียกว่า การฟอกโลหิต

• 3. เส้นเลือด หรือหลอดเลือด มี 2 ชนิด คือ หลอดโลหิตแดง และ หลอดโลหิตดำ

• 1. หลอดโลหิตแดง ทำหน้าที่ลำเลียงโลหิตที่ถูกฉีดออกจากหัวใจไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย

• 2. หลอดโลหิตดำ ทำหน้าที่ลำเลียงโลหิตดำกลับเข้าสู่หัวใจ

• 4. โลหิตหรือน้ำเลือด เป็นของเหลวที่บรรจุอยู่ในหลอดโลหิต

• 1. เซลล์เม็ดเลือดแดง จะนำออกซิเจนที่รวมอยู่กับสารฮีโมโกลบินไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกาย

• 2. เซลล์เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากแบคทีเรียและจุลินทรีย์ต่างๆที่มีอันตรายต่อร่างกาย



• ระบบหายใจ

• 1. จมูก แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

• - ส่วนรับลมหายใจ จะมีขนจมูกช่วยกรองฝุ่นละอองในอากาศ

• - ส่วนหายใจ จะมีเยื่อเมือกอยู่จำนวนมาก เพื่อทำให้อากาศที่เราหายใจเข้าไปอุ่นและมีความชื้น

• จมูกส่วนนี้จะทะลุออกไปภายในลำคอได้

• 3.- ส่วนดมกลิ่น จะมีเซลล์รับกลิ่นอยู่ ทำหน้าที่แปลกลิ่นเป็นสัญญาณประสาทผ่านเส้นประสาทก่อนเข้าสู่สมองเพื่อแปลผลการดมกลิ่น

• 2. หลอดลม ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศลงสู่ปอด

• 3. ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบการหายใจ ด้านนอกปอดจะมีเยื่อลื่นๆหุ้มป้องกันไม่ให้ปอดได้รับอันตราย เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด ปลายขั้วปอดจะแตกแขนงออกเป็นหลอดลมเล็กๆจำนวนมาก เรียกว่า หลอดลมฝอย ที่ปลายทางของหลอดลมฝอยจะมีถุงลมเล็กๆจำนวนมากสำหรับแลกเปลี่ยนก๊าซ


• ระบบขับถ่าย

• ระบบขับถ่าย ทำหน้าที่กรองของเสียจากโลหิตออกนอกร่างกาย ระบบขับถ่ายของคนเรา มี 4 ระบบ คือ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบขับถ่ายเหงื่อ ระบบขับถ่ายอุจจาระ ระบบขับถ่ายกาซคาร์บอนไดออกไซด์

• 1. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดแล้วนำออกนอกร่างกายในรูปของปัสสาวะ

• 1. ไต รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ตั้งอยู่ทางด้านหลังของช่องท้องด้านซ้ายและขวา ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด ขับออกมาเป็นน้ำปัสสาวะไหลไปตามท่อเล็กๆในไต โดยไปรวมกันที่กรวยไต จากนั้นก็ไหลผ่านท่อไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ พร้อมที่จะขับออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะ

• 2. กระเพาะปัสสาวะ ตั้งอยู่ตอนล่างของช่องท้อง สามารถบรรจุน้ำปัสสาวะได้ประมาณ 1.5 ล.

• 2. ระบบขับถ่ายเหงื่อ ทำหน้าที่สกัดน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายไม่ต้องการออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อ

• 3. ระบบขับถ่ายอุจาระ ทำหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยอาหารออกจากร่างกายในรูปของอุจาระ

1. ลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่ออกจากกากอาหาร และขับเมือกออกมาหล่อลื่นให้กากอาหารส่วนที่แข็งเคลื่อนที่ผ่านไปได้




กิจกรรมสำคัญ

กิจกรรมสำคัญ
ออกกำลังกายเป็นประจำ